<![CDATA[บทความ]]> https://wcs-th.com/blog/ Sat, 27 Apr 2024 07:42:05 +0000 Zend_Feed http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss <![CDATA[อาการเสียเบื่องต้นกรณีนำหัวพิมพ์/เมนบอร์ดใหม่เปลี่ยนแล้วมีปัญหาใช้ไม่ได้]]> https://wcs-th.com/blog/Printhead_Problem/ ]]> Tue, 19 Mar 2024 04:27:46 +0000 <![CDATA[QNAP NAS: Snapshot คืออะไร แล้วมันต่างจากแบ็กอัพตามปกติยังไง?]]> https://wcs-th.com/blog/QNAP_NAS_Snapshot/ ฟีเจอร์นึงที่ QNAP NAS มีให้คุณได้ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลของคุณจะถูกปกป้องจากการสูญหายโดยความประมาทเลินเล่อ หรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มันก็คือ Snapshot แต่ก็ยังอาจมีหลายคนสงสัยว่า แล้วไอ้ฟีเจอร์ Snapshot นี้เนี่ย มันต่างจากการแบ็กอัพตามปกติที่เราๆ ท่านๆ ทำกันตรงไหน วันนี้บล็อกของผม จะเอามาเล่าสู่กันอ่านครับ ก่อนอื่นเลย Snapshot มันทำอะไร? รู้จักกับฟีเจอร์ Undo ไหมครับ? ไอ้ที่หลายๆ โปรแกรมในคอมพิวเตอร์เรามีอะ เวลาที่กด Undo (หรือหลายๆ โปรแกรมใช้ Shotcut เป็น Ctrl + z บนระบบปฏิบัติการ Windows หรือ Command + z บนระบบปฏิบัติการ macOS) มันจะยกเลิกการกระทำล่าสุดไปได้ แล้วพวกโปรแกรมเหล่านี้ก็จะอนุญาตให้เราสามารถ Undo ไปได้หลายสเต็ปอยู่

 

การทำ Snapshot มันก็คืออะไรคล้ายๆ แบบนี้อะครับ แต่ทำกันที่ระดับไฟล์ คือ ยอมให้เราทำการยกเลิกการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่ทำกับไฟล์ไปได้ เช่น สมมติว่าเราตั้ง QNAP NAS ให้ทำ Snapshot ไว้ทุกๆ ชั่วโมง นั่นจะหมายความว่าถ้าเกิดอยู่มาวันนึง ไฟล์เกิดติดไวรัส หรือ มีคนไปแก้ข้อมูลผิดแล้วเผลอเซฟทับไป หรือ มีคนเผลอลบไฟล์นั้นทิ้งไป เราก็จะสามารถทำการเรียกคืนไฟล์นั้น ในเวอร์ชันก่อนหน้าที่เราได้ทำ Snapshot เอาไว้ กลับมาได้ และสามารถเรียกย้อนไปดูในทุกๆ ชั่วโมงที่ทำ Snapshot ได้ เพื่อให้แน่ใจว่า เราได้ไฟล์เวอร์ชันที่เราต้องการกลับมาจริงๆ

 

แล้ว Snapshot ของ QNAP NAS เนี่ย เราทำได้ทั้งในระดับไฟล์ โฟลเดอร์ หรือแม้แต่ทั้ง Volume เลย … ขอแค่เรามีเตรียมพื้นที่เอาไว้เก็บ Snapshot มากพอครับ

 

QNAP Snapshot

 

แต่แบบนี้ มันก็เหมือนกับก็อปปี้ไฟล์หรือโฟลเดอร์ทั้งชุดขึ้นมาเก็บไว้ป่ะ? แล้วมันจะต่างกันตรงไหนกับแบ็กอัพปกติ?

การแบ็กอัพตามปกติ คือการทำสำเนาข้อมูลเก็บไว้ทั้งชุด นั่นหมายความว่า ถ้าคุณมีข้อมูลขนาด 5TB แล้วอยากจะเก็บแบ็กอัพไว้ คุณก็ต้องมีเนื้อที่อีก 5TB เอาไว้เก็บ ถ้าคุณจะสำรองข้อมูล 5TB นี้ทุกๆ 1 ชั่วโมงเก็บไว้ คุณจะต้องมีเนื้อที่เก็บข้อมูลอย่างน้อย 120TB เพื่อเก็บสำเนา ซึ่งเป็นอะไรที่ไม่สมเหตุสมผลเลย ถูกปะ นี่ยังไม่นับเรื่องเวลาที่ต้องใช้ไปในการเก็บสำเนาข้อมูลพวกนี้อีกนะ กว่าจะทำสำเนาเสร็จ 5TB นี่ไม่ใช่อะไรที่จะก็อปปี้กันเสร็จเร็วๆ ซะที่ไหน แถม NAS ก็จะสูญเสียทรัพยากรไปในระหว่างที่กำลังทำสำเนาอยู่อีก แล้วในระหว่างนั้นข้อมูลเกิดมีการเปลี่ยนแปลงอีกล่ะ?

 

ในทางกลับกัน Snapshot มันจะไม่ได้เก็บข้อมูลด้วยวิธีนั้น มันจะแค่เก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็นสำหรับการ “ยกเลิกการเปลี่ยนแปลง” เอาไว้ เลยใช้เนื้อที่น้อยกว่าการทำแบ็กอัพมาก และยังทำได้รวดเร็วกว่าด้วย

 

การทำงานของ Snapshot บน QNAP NAS ในระดับ block level

หลักการทำงานของ Snapshot บน QNAP NAS มันจะเป็นแบบนี้ครับ เวลาทำ Snapshot ปุ๊บ ก็จะมีการก็อปปี้ข้อมูลที่เรียกว่า Metadata ซึ่งทำหน้าที่เก็บข้อมูลว่าข้อมูลแต่ละบล็อกนั้นถูกจัดเก็บเอาไว้ยังไง ซึ่งขอ้มูล Metadata เนี่ยมีขนาดเล็กมาก (เมื่อเทียบกับไฟล์ข้อมูลจริงๆ) และสามารถก็อปปี้ได้เสร็จอย่างรวดเร็ว

 

ทีนี้ เวลาข้อมูลบล็อกไหนมีการเปลี่ยนแปลง ข้อมูลบล็อกนั้นก็จะถูกสำเนาเก็บไว้ใน Snapshot ด้วย เป็นกระบวนการที่เรียกว่า “Copy on write” หรือ ทำสำเนาเมื่อถูกเขียนข้อมูล

 

เมื่อ Snapshot มีข้อมูล Metadata มันก็จะรู้ครับว่ามีข้อมูลบล็อกไหนบ้างที่ถูกสร้างเพิ่มขึ้นมานับตั้งแต่ทำ Snapshot ไว้ล่าสุด แล้วมีข้อมูลบล็อกไหนถูกเขียนทับไป พอเราต้องการจะยกเลิกการเปลี่ยนแปลง หรือพูดง่ายๆ คือ กู้ข้อมูลมาจาก Snapshot ที่ได้ทำไว้ มันก็จะทำการเอาบล็อกข้อมูลที่เก็บเอาไว้ใน Snapshot ไปเขียนทับบล็อกข้อมูลใดๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง บล็อกข้อมูลใดที่ถูกเพิ่มเข้ามาก่อนที่จะทำ Snapshot ก็จะถูกลบออก แค่นี้ทุกอย่างก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิมตอนที่ทำ Snapshot เอาไว้ ฉะนั้น ต่อให้ไฟล์จะถูกลบไปแล้ว ก็ยังกู้กลับมาได้ครับ ถ้าได้ทำ Snapshot เอาไว้

QNAP Snapshot

User Interface ของระบบ Snapshot บน QNAP NAS ดูเรียบง่าย ใช้งานง่าย

แล้ว Snapshot บน QNAP NAS ดียังไง?

มี User interface ที่ใช้งานง่าย เวลาจะกู้คืนข้อมูลก็แค่คลิกไปตรง Snapshot ที่เราต้องการ แล้วสามารถเลือกได้ว่าจะกู้คืนทั้ง Volume, หรือเฉพาะไฟล์หรือโฟลเดอร์ แถมเรายังตั้งว่าจะทำ Snapshot แบบ Manual หรืออัตโนมัติตามกำหนดเวลาก็ได้

ทำ Snapshot กันที่ Block level เลยทำให้มีประสิทธิภาพดีกว่าการทำที่ระดับ File level เพราะถ้าทำ Snapshot ที่ระดับ File level การเปลี่ยนแปลงกับไฟล์แม้จะเพียงเล็กน้อยก็จะต้องทำ Snapshot ทั้งไฟล์เลย แต่ถ้าทำที่ระดับ Block level แล้ว ก็จะสำเนาข้อมูลเก็บไว้เฉพาะบล็อกข้อมูลส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น ซึ่งนั่นทำให้รวดเร็วกว่า และต้องใช้เนื้อที่ในการทำ Snapshot น้อยกว่า

และเพราะมันทำ Snapshot ที่ Block level นี่แหละ เลยทำให้เราทำ Snapshot ในระดับ Volume หรือ LUN ได้ ซึ่งรวมถึง ISCSi LUN ด้วย พวก Snapshot แบบอื่น ใช้ BTRFS (Better File System) ซึ่งจะสามารถทำ Snapshot ของ Volume ได้เฉพาะที่บริหารจัดการโดย BTRFS เท่านั้น

คุมการจัดสรรเนื้อที่สำหรับเก็บ Snapshot เพื่อให้แน่ใจว่า NAS ยังทำงานได้ดี ซึ่งตรงนี้ QNAP ให้เรากำหนดได้เลยว่าจะให้มีเนื้อที่สำคัญทำ Snapshot เท่าไหร่ แล้วเนื้อที่ที่กันไว้นี้ จะไม่มีไฟล์หรือแอปใดๆ เข้ามาย่างกรายแอบใช้ เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีเนื้อที่เพียงพอสำหรับทำ Snapshot และในขณะเดียวกัน เนื้อที่ที่ไม่ได้ถูกจัดสรรไว้ ลำดับความสำคัญก็จะไปตกอยู่ที่ไฟล์และแอปอื่นๆ แทน ก็จะหมดห่วงปัญหาว่า Snapshot กินเนื้อที่มาจนเกินไป จนไปกระทบกับบริการของ NAS ในฐานะ File server เป็นต้น

ปัจจัยที่จะมีผลให้ขนาดของ Snapshot ใหญ่หรือเล็ก

ถ้าแค่เพิ่มไฟล์เข้าไปใน NAS เวลาทำ Snapshot ก็จะไม่จำเป็นต้องก็อปปี้ไฟล์ทั้งหมดที่เพิ่มเข้าไปไว้ใน Snapshot เก็บแค่ Metadata ที่บันทึกเอาไว้ว่ามีข้อมูลใดๆ ถูกเพิ่มเข้ามานับตั้งแต่ทำ Snapshot ล่าสุดเอาไว้ก็เท่านั้นเอง

 

แต่ถ้าเกิดจะลบไฟล์ หรือแก้ไขไฟล์ นี่สิ Snapshot จะต้องมีการสำเนาข้อมูลไฟล์ที่ถูกลบไปนั้นลงไปใน Snapshot อย่างน้อยๆ ก็เฉพาะส่วนของบล็อกข้อมูลที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือถูกลบ ซึ่งนั่นจะมีขนาดใหญ่กว่า Metadata และทำให้ Snapshot มีขนาดใหญ่ขึ้น

 

แล้วกันเนื้อที่ทำ Snapshot แค่ไหนถึงจะพอ?

มันไม่มีสูตรตายตัวครับ มันอยู่ที่ว่าคุณต้องการจะทำ Snapshot ถี่ห่างขนาดไหน และทำ Snapshot ข้อมูลเยอะแค่ไหน คือ แม้จะเก็บไว้บน NAS ตัวเดียวกัน ก็ไม่ได้หมายความว่าข้อมูลทุก Volume ทุกโฟลเดอร์ มันจะต้องเก็บเป็น Snapshot ด้วยความถี่เท่ากัน และบาง Volume หรือโฟลเดอร์ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ Snapshot เลยก็ได้ ทั้งนี้อยู่ที่การออกแบบของแต่ละคน แต่ละองค์กร

 

แต่สูตรง่ายๆ ที่ QNAP บอกมาคือ ถ้าเรากันเนื้อที่ไว้ให้ซัก 20% ของขนาดเนื้อที่บน NAS ก็จะเพียงพอต่อการทำ Snapshot ได้ราวๆ 256 ครั้ง ซึ่งนั่นก็มากเพียงพอสำหรับ

 

การทำ Snapshot ชั่วโมงละครั้ง ตลอด 1 สัปดาห์ = 168 snapshots

การทำ Snapshot หลักรายสัปดาห์ เดือนละ 4-5 snapshots (ครบเดือนแล้วค่อยเริ่มนับใหม่)

การทำ Snapshot หลักรายเดือน เดือนละ 1 snapshots (ครบปีแล้วค่อยเริ่มนับใหม่)

บวกเลขดูแล้ว ก็ใช้ประมาณ 180 snapshots ก็เหลือเฟือแล้วครับ ที่เหลือๆ ก็เผื่อเอาไว้ว่าต้องเก็บข้อมูลเยอะหน่อย เพราะดันแก้ไขไฟล์เยอะ ลบไฟล์เยอะ

 

ที่มา : kafaak.blog

 

]]>
Fri, 08 Dec 2023 05:12:07 +0000
<![CDATA[Epson dot Matrix Charge]]> https://wcs-th.com/blog/Epson_dot_Matrix_Charge/

]]>
Tue, 29 Nov 2022 07:47:34 +0000
<![CDATA[WCS ผ่านการพิจรณาการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการผู้บริโภค เรียบร้อยแล้ว]]> https://wcs-th.com/blog/ocpb/
]]>
Mon, 03 Feb 2020 06:58:56 +0000
<![CDATA[ทำไมท่านถึงควรวางใจให้เราดูแลทุกปัญหาของปริ้นเตอร์]]> https://wcs-th.com/blog/trust_us/
  1. เรามีโปรแกรมที่เราพัฒนาขึ้น บันทึกประวัติเครื่องที่เข้ามาซ่อม ทำให้เรารู้ประวัติงานซ่อมซึ่งบันทึกข้อมูลอะไหล่ที่ผ่านมาว่าเคยเปลี่ยน/เคยซ่อมมาแล้ว รวมทั้งผู้ซ่อมที่เคยดูแลเครื่องที่ลูกค้ามาก่อนทำให้สามารถ วิเคราะห์ และหาสาเหตุอาการที่เข้ามาซ่อมใหม่ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ มีการบันทึกอะไหล่ที่นำเข้ามาพร้อมเครื่อง ทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่าท่านจะได้เครื่องกลับไปพร้อมอะไหล่ที่นำมาด้วยเสมอ อีกทั้งโปรแกรมยังส่งข้อมูลไปยังฝ่าย คลังสินค้าเพื่อรายงานการใช้อะไหล่ในแต่ละรุ่นเพื่อทำการจัดซื้ออะไหล่ทำให้มีอะไหล่ไว้บริการลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ
    ใบรับเครื่อง WCS


  2. สามารถตรวจสอบสถานะงานซ่อมผ่านทาง Web: https://www.wcs-th.com/FixReport
    Fix Status

  3. เว็ปไซด์ที่อัปเดตข้อมูลให้ลูกค้าทราบข้อมูลสินค้า และข้อมูลสินค้าใน
    Stock

  4. เรามีโปรแกมคลังสินค้าอัจฉริยะที่คอยดูแลสินค้ามากกว่า 6,000 รายการที่คอยให้บริการกับลูกค้าทั่วประเทศ มี AI ที่คอยช่วยตรวจสอบสินค้าให้มีเพียงพอกับความต้องการของลูกค้าอยู่เสมอ
    AI Stock

]]>
Tue, 28 Jan 2020 04:55:02 +0000
<![CDATA[คำนวณการใช้งานหมึกพิมพ์ต่อตลับ]]> https://wcs-th.com/blog/cal_toner/ หลายท่านอาจสงสัย ว่าเวลาที่ซื้อตลับหมึกใหม่ ที่ข้างกล่อง เขียนไว้ว่าพิมพ์ได้จำนวนกี่แผ่นแต่พอ ใช้งานไปบางครั้งหมึกหมดก่อน หรือ ใช้ได้มากกว่าตัวนับในชิฟที่กล่องหมึกบอก

อันดับแรกเราต้องรู้ก่อนว่าจำนวนแผ่นที่บอกว่าตลับหมึกนั้นๆพิมพ์ได้กี่แผ่นกำหนดขึ้นมาจากมาตรฐาน ISO_IEC_19752 ซึ่งกำหนดว่า การพิมพ์ตัวอักษรต่อ1 หน้ากระดาษ A4 มีพื้นที่หมึกไม่เกิน 5% ของพื้นที่บนหน้ากระดาษ A4

เรามารู้จักกับปริมาณการพิมพ์ 5%กัน

โดยปกติแล้วการนับจำนวนแผ่นต่อการพิมพ์ ของเครื่องจะนับการใช้หมึกที่ 5% ต่อ 1 หน้า ในที่นี้ก็คือ A4 นั่นหมายความว่า เครื่องจะนับ โดยคำนวณจากปริมาณการใช้หมึก ไม่ใช่นับ จากจำนวนหน้ากระดาษที่ทำการพิมพ์ หากสั่งพิมพ์รายงาน 1 หน้า ที่มีแต่ตัวหนังสือ นั่นคือ 5% โดยประมาณ แต่หากมีรูปภาพแทรก เข้าเปอร์เซ็นต์การใช้หมึกก็จะมากขึ้นตามขนาด และความเข้มของภาพ ซึ่งอาจจะเพิ่มเป็น 10% หรือ 20% ไปจนถึง 100% ก็ยังได้ หากว่าเราสั่งพิมพ์ ให้สีดำเต็มแผ่นกระดาษหรือถ่ายเอกสาร ก็คือพิมพ์ โดยใช้หมึกที่ 100% พิมพ์งานไปแค่ 1 แผ่นก็จริง แต่การใช้หมึกนั้นเครื่องจะนับว่าเราพิมพ์งานไปถึง 20 แผ่น (100% หารด้วย 5% = 20แผ่น) . ดังนั้นหากว่า หมึก 1 ตลับ สามารถพิมพ์เอกสารได้ 1,600 แผ่น (ตามคุณสมบัติ) ก็หมายความว่า หาก พิมพ์งานโดยใช้หมึกที่ 5% ต่อ 1 หน้า เราก็จะสามารถ ใช้งานได้ถึง 1,600 แผ่น ตามคุณสมบัติไว้ได้จริง แต่หากสั่งพิมพ์รูปภาพ หรือ ถ่ายเอกสาร เครื่องก็จะ ใช้หมึกมากขึ้น ซึ่ง อายุการใช้งานของตลับหมึกก็จะ ลดลงตามปริมาณการใช้หมึกไปด้วย

ตัวอย่างประมาณการจำนวณแผ่นเมื่อพิมพ์ด้วย %พื้นที่การพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ

5% Page

 

 

ตัวอย่างงานพิมพ์ ปริมาณการพิมพ์ ที่ 5%

ตลับหมึกระบุ 1000 แผ่น จะสามารถพิมพ์ได้ 1000 แผ่นตามที่ระบุข้างกล่อง

 

 

 

ตัวอย่างงานพิมพ์ ปริมาณการพิมพ์ ประมาณ 35%

ตลับหมึกระบุ 1000 แผ่น จะสามารถพิมพ์ได้ประมาณ 142 แผ่น

 

 

 

ตัวอย่างงานพิมพ์ ปริมาณการพิมพ์ ประมาณ 65%

ตลับหมึกระบุ 1000 แผ่น จะสามารถพิมพ์ได้ประมาณ 77 แผ่น

 

 

 

ตัวอย่างงานพิมพ์ ปริมาณการพิมพ์ ประมาณ 95%

ตลับหมึกระบุ 1000 แผ่น จะสามารถพิมพ์ได้ประมาณ 53 แผ่น
]]>
Tue, 06 Aug 2019 07:13:53 +0000
<![CDATA[ชนิดหมึกพิมพ์ inkjet]]> https://wcs-th.com/blog/inkjet_Type/ Dye ink / หมึกพิมพ์ชนิดน้ำ

หมึกพิมพ์ที่พบได้ทั่วไปราคาถูก สามารถพิมพ์เอกสารทั่วไปบนกระดาษ ตัวทำละลายมักจะเป็นน้ำ ซึ่งทำให้เวลาพิมพ์ไปแล้วจะไม่กันน้ำ และอายุการใช้งานไม่ยาวนาน สีจะซีดไปตามกาลเวลา (1-2 ปี)

Pigment ink / หมึกพิกเมนต์
หมึกกันน้ำมักพบในเครื่องพิมพ์เสื้อ หลักการนำหมึก Pigment มาสกรีนลงบนเสื้อโดยตรงเลย ด้วยเครื่องพิมพ์ผ้าโดยเฉพาะจากนั้นนำมาอบสีให้แห้ง ข้อดีงานคุณภาพสูง หมึกซึมไปในเส้นใยผ้า เหมาะกับการสกรีนลงบน Cotton ข้อเสีย เครื่องพิมพ์มีราคาแพงมาก และต้องการการบำรุงรักษามาก ต้นทุนหมึกสูง

Sublimation ink / น้ำหมึกพิมพ์สีระเหิด
หมึกพิมพ์ใช้พิมพ์บนวัสดุ ได้หลากหลาย (เสื้อ,แก้วน้ำ,จาน, เนคไท,ปลอกหมอน, โต๊ะ หรือวัสดุอื่นๆ) มักพิมพ์ลงบนกระดาษทรานเฟอร์ และใช้เครื่องรีดความร้อน อัดกระดาษทรานเฟอร์ลงบนวัสดุที่ต้องการ หรือสามารถพิม์บนวัสดุได้โดนตรงขึ้นอยูกับเครื่องพิมพ์ หมึกมีความคงทนสูง ทนต่อการหลุดร่อน ไม่ละลายน้ำ

UV ink / หมึกอัลตราไวโอเลต
ตัวหมึกจะเป็นของเหลวเมื่อถูกแสงยูวีหมึกจะทำปฏิกิริยาทางเคมี ปฏิกิริยานี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งนำไปสู่การอบแห้งหมึกทันที มักจะพิมพ์ลงไปบนวัสดุโดยตรง แล้วมีแสง UV ส่องเพื่อให้หมึกแห้งอย่างรวดเร็ว

]]>
Thu, 07 Feb 2019 11:57:01 +0000
<![CDATA[แก้ปัญหา พิมพ์ผ่านเน็ตเวิร์ค ช้าไฟล์งานค้าง]]> https://wcs-th.com/blog/Spool_Print_Problem/ ปัญหาพิมพ์ช้า อาจเกิดจากไฟล์ Temp ของ Windows ที่จะสร้างขึ้นแล้วไม่ได้ลบออก เมื่อมีเป็นจำนวนมากสามรถทำให้เวลาสั่งพิมพ์แล้วเกิดอาการหน่วงได้

วิธีแก้ปัญหา โดยทำการลบ temp ทิ้ง

  1. กดปุ่ม  Win หรือ ปุ่ม Win + R
  2. พิมพ์ CMD



  3. พิมพ์ net stop spooler แล้ว กด Enter



  4. พิมพ์ del %systemroot%\System32\spool\printers\* /Q



  5. พิมพ์ Net Start Spooler



  6. พิมพ์ Exit เพื่อออก

 หรือ Download ไฟล์ไป Run ได้เลยครับ

]]>
Thu, 31 Jan 2019 03:28:56 +0000
<![CDATA[วิธีการแก้ปัญหากรณี Windows Update แล้วไม่สามารถพิมพ์งานได้]]> https://wcs-th.com/blog/win_update_error_print_dot/ ธีการแก้ปัญหามีอยู่ 2 วิธี

1. ถอนการติดตั้ง Windows Update : KB4048957

  • เปิด Notepad
  • คัดลอกข้อความด้านล่าง

@echo off 

wusa /uninstall /kb:4048957 /quiet /norestart 

  • บันทึกไฟล์เป็นนามสกุล .bat  (Ex : kb4048957.bat)
  • คลิ๊กเมาส์ขวาที่ไฟล์ที่บันทึก เลือก Run as administrator

 

2. ติดตั้ง Driver ใหม่ที่มี Microsoft Certified

วิธีแก้ไขจาก Epson

]]>
Thu, 16 Nov 2017 10:11:47 +0000
<![CDATA[Google Cloud Print]]> https://wcs-th.com/blog/Google_Cloud_Print/ ตั้งค่า Google Cloud Print

หากเครื่องพิมพ์ไร้สายของคุณระบุไว้ว่าใช้งานได้ในระบบคลาวด์ ให้ทำตามวิธีการของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์หรือดูข้อมูลการตั้งค่าเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานได้ในระบบคลาวด์

หากเครื่องพิมพ์ไม่ได้ระบุว่าใช้งานได้ในระบบคลาวด์ ให้ทำตามขั้นตอนด้านล่าง

    1. เปิดเครื่องพิมพ์
    2. เปิด Chrome ในคอมพิวเตอร์ Windows หรือ Mac
    3. ที่ด้านขวาบน ให้คลิก "เพิ่มเติม" เพิ่มเติม จากนั้น การตั้งค่า
    4. คลิกแสดงการตั้งค่าขั้นสูงที่ด้านล่าง
    5. ในส่วน "Google Cloud Print" ให้คลิกจัดการ
    6. หากได้รับแจ้ง ให้ลงชื่อเข้าใช้ด้วยบัญชี Google ของคุณ
    7. เลือกเครื่องพิมพ์ที่คุณต้องการเชื่อมต่อ แล้วคลิกเพิ่มเครื่องพิมพ์

ตอนนี้เครื่องพิมพ์ได้เชื่อมโยงกับบัญชี Google ของคุณและเชื่อมต่อกับ Google Cloud Print แล้ว คุณสามารถสั่งพิมพ์ไปยังเครื่องพิมพ์นี้จากอุปกรณ์ใดก็ได้ที่คุณลงชื่อเข้าใช้บัญชี Google


คอมพิวเตอร์

พิมพ์โดยใช้ Google Cloud Print

  1. เปิด Chrome ในคอมพิวเตอร์
  2. เปิดหน้าเว็บ รูปภาพ หรือไฟล์ที่คุณต้องการพิมพ์
  3. คลิกไฟล์ จากนั้น พิมพ์ หรือใช้แป้นพิมพ์ลัดดังนี้
    • Windows และ Linux: Ctrl + p
    • Mac: ⌘ + p
  4. ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น ให้คลิกเปลี่ยนเพื่อเลือกเครื่องพิมพ์ระบบคลาวด์ของ Google ที่คุณใช้
  5. เปลี่ยนการตั้งค่าการพิมพ์ตามที่ต้องการ
  6. เมื่อพร้อมแล้ว ให้คลิกพิมพ์

หากคุณกำลังใช้ Chromebook ในที่ทำงานหรือโรงเรียน ผู้ดูแลระบบเครือข่ายอาจเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ให้คุณไว้ 1 เครื่องขึ้นไป เครื่องพิมพ์จะใช้ได้เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บัญชีของที่ทำงานหรือโรงเรียน เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Chromebook ผ่านที่ทำงานหรือโรงเรียน

 

พิมพ์จากเครื่องพิมพ์มาตรฐาน

ในการตั้งค่าเครื่องพิมพ์ ให้ทำตามวิธีการของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์นั้น

  1. เปิด Chrome ในคอมพิวเตอร์
  2. เปิดหน้าเว็บ รูปภาพ หรือไฟล์ที่คุณต้องการพิมพ์
  3. คลิกไฟล์ จากนั้น พิมพ์ หรือใช้แป้นพิมพ์ลัดดังนี้
    • Windows และ Linux: Ctrl + p
    • Mac: ⌘ + p
  4. ในหน้าต่างที่ปรากฏขึ้น ให้เลือกปลายทางและเปลี่ยนการตั้งค่าการพิมพ์ตามที่ต้องการ
  5. เมื่อพร้อมแล้ว ให้คลิกพิมพ์

 มือถือ และ แท็บเล็ตระบบ Android 

พิมพ์โดยใช้ Google Cloud Print

หากต้องการสั่งพิมพ์จากอุปกรณ์ Android คุณจะต้องตั้งค่า Google Cloud Print ในบัญชี Google หรือคุณจะติดตั้งแอปสำหรับพิมพ์ในอุปกรณ์ที่ใช้ Android 4.4 ขึ้นไปก็ได้

  1. เปิดแอป Chrome Chrome ในอุปกรณ์ Android
  2. เปิดหน้าเว็บ รูปภาพ หรือไฟล์ที่คุณต้องการพิมพ์
  3. ที่ด้านขวาบน ให้แตะ "เพิ่มเติม" เพิ่มเติม จากนั้น แชร์
  4. เลือกพิมพ์
  5. เลือกเครื่องพิมพ์ที่ด้านบน
  6. เปลี่ยนการตั้งค่าการพิมพ์ตามที่ต้องการโดยแตะ "ลูกศรลง" ลูกศรลง
  7. เมื่อพร้อมแล้ว ให้แตะ "พิมพ์" พิมพ์

 มือถือ และ แท็บเล็ตระบบ iOS

พิมพ์โดยใช้ AirPrint

หากต้องการสั่งพิมพ์จาก iPhone หรือ iPad ให้ใช้ AirPrint

  1. เปิดแอป Chrome Chrome ใน iPhone หรือ iPad
  2. เปิดหน้าเว็บ รูปภาพ หรือไฟล์ที่คุณต้องการพิมพ์
  3. ที่ด้านขวาบน ให้แตะ "เพิ่มเติม" เพิ่มเติม จากนั้น แชร์ แชร์
  4. เลือกพิมพ์
  5. เลือกตัวเลือกเครื่องพิมพ์ และเลือกการตั้งค่า
  6. เมื่อพร้อมแล้ว ให้แตะพิมพ์

 


 

ที่มา : Support.google.com

]]>
Mon, 17 Oct 2016 08:37:53 +0000